ระบบสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) เมืองบึงกาฬ


ส่วนที่ 1
 ระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System)
หน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิเมืองบึงกาฬ

ความเป็นมาและความสำคัญ
            ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่เน้นการพัฒนาบริการปฐมภูมิ  เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัวได้ ตลอดจนเกิดชมรม/กลุ่มช่วยกันดูแลกันเหมือนครอบครัวใหญ่ และมีนักสุขภาพครอบครัว : หมอประจำตัวทุกครัวเรือน เป็นผู้ดูแลต่อยอด         ประกอบกับนโยบายด้านการบริหารจัดการเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ที่เน้นให้มี   Project  Manager   เป็นผู้นำด้านการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพ  ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่แต่ละอำเภอ  เน้นการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียในทุกขั้นตอนในการทํางาน การบริหารงานผ่านคณะกรรมการ การดําเนินงานภายใต้แนวคิด การร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมแก้ไขปัญหาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) โรงพยาบาลชุมชน และสํานักงานสาธารณสุขอําเภอ เพื่อบริหารจัดการงบประมาณ แผนงาน โครงการ ควบคุมกํากับงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย   อีกทั้งบริหารจัดการเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายในการปฏิบัติงาน  สู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จร่วมกันระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System) ถ้าเรามองแต่ใน มุมมองสาธารณสุข เราก็จะพบเพียง รพช. รพสต. หรือ สสอ. ที่การขับเคลื่อนภาวะคุกคามกับสุขภาพนั้น ซึ่งเป็นเรื่องยาก และกลายเป็นงานตั้งรับที่ทำให้บุคลากรเหนื่อยและล้าไปในที่สุด แต่ระบบสุขภาพระดับอำเภอ ยังหมายรวมถึงประชาชนทุกคนที่อยู่ในอำเภอนั้น ๆ ซึ่งเป็นรากเหง้าของการดูแลกันและกันและหมายรวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชนที่ร่วมดูแลประชาชนคนเดียวกันเพื่อช่วยกันสะท้อนให้เห็นภาพสุขภาวะ Health Status ของอำเภอนั้น ๆ ร่วมกันการทำงานของหน่วยบริการปฐมภูมิ จึงไม่ใช่เน้นที่จัดบริการเพื่อให้การบริการอย่างเดียว ไม่ว่าจะรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ แต่มีหน้าที่อีกด้านหนึ่งในการทำงานร่วมกันเครือข่ายในการรับรู้สุขภาวะในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยน และจัดระบบต่างๆ ของหน่วยบริการให้สอดคล้อง เสริมหรือร่วมสร้างปัญญาของชุมชนในการดูแลกันและกัน  แก้ปัญหาทุกด้านต่างๆ ที่เกิดในแต่ละช่วงเวลาได้ และสามารถรับรู้ผลลัพธ์ที่เกิดไม่ว่าดีหรือไม่ดีเพื่อเป็นต้นทุน ให้เกิดการพัฒนาต่อไปในอนาคต ดังนั้น หลักคิดของระบบสุขภาพระดับอำเภอ จึงต้องการให้เกิดภาพของการรับรู้และการร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในอำเภอให้ดีขึ้น เกิดสมดุลด้วยทีมสาธารณสุขที่เป็นทีมเดียวกันในการร่วมรับรู้และทำงาน เพื่อการตอบสนองต่อสุขภาวะ และสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนตลอดเวลา ซึ่งอาจจะเป็นด้านที่ต้องอาศัยความชำนาญของเราเอง คือ การรักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพขณะเดียวกันก็ต้องร่วมมือหรือเป็นส่วนสนับสนุนกับเครือข่ายอื่นๆ เพื่อให้เกิดการดูแลกันและกันของประชาชนในชุมชน และท้ายสุด บุคลากรของสาธารณสุขก็รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของระบบของชุมชนนั้นๆ มีความภูมิใจในวิชาชีพของตนเองที่กล่าวมา เป็นเพียงแนวคิดหลักการเพื่อให้เกิดระบบสุขภาพระดับอำเภอ ให้ขับเคลื่อนทุกหน่วยบริการร่วมสานพลังต่อ ในการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ และร่วมนำเสนอผลลัพธ์ที่เป็นสุขภาวะระดับอำเภอ เพื่อสะท้อนไปยังระดับประเทศ เพื่อการจัดการระบบต่อไปในระดับประเท
District Health System DHS คือ ระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุข อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการภาคี เน้นเป้าหมายผ่านกระบวนการชื่นชม และจัดการความรู้ แบบอิงบริบท ของแต่ละสถานที่ ภาพที่ คนในพื้นที่ ไม่ทอดทิ้งกัน การดูแลคนพิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มากกว่าหน้าที่ ก่อเกิดกระบวนการที่ไม่คาดฝัน
1. ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
2. พึ่งตนเองได้ในความเจ็บป่วยที่พบบ่อย
3. โรคเรื้อรังสำคัญ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สามารถควบคุม และดูแลได้ ในชุมชน
4. มีความเข้มแข็ง ของการควบคุมโรค ในท้องถิ่น เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ
5. ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถได้รับการดูแล ได้ในชุมชน และที่บ้าน
6. เกิดการสร้างสุขภาวะของชุมชน โดยความเข้มแข็งของชุมชน มีภูมิคุ้มกัน
   
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระบบ Primary Care ในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ
1.  Essential Care
 ผู้สูงอายุ ผู้ที่ต้องพึ่งพา สามารถที่ได้รับการดูแลได้ในชุมชนและที่บ้าน
 โรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ หืด ถุงลมโป่งพอง วัณโรค
เอดส์ โรคไต โรคตับ มะเร็ง)
มีความเข้มแข็งของการควบคุมโรค ในท้องถิ่นและไข้เลือดออก และโรคไม่ติดต่อ
-  งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค คัดกรองโรค อนามัยสิ่งแวดล้อม อนามัยแม่และ
เด็ก อาชีวะอนามัย  ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน   สุขภาพฟัน   โรคจิตเวช (สุขภาพจิต)   ผู้พิการ (อัมพาต เบาหวานถูกตัดเท้า แผลเรื้อรัง)   เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส  คนยากคนจน
2.  Unity District Health Team เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอการทำงานเป็นทีม รพ.  +  สสอ.  +  รพ.สต .  +  อปท.  +  ประชาสังคม
3.  ปรากฏการณ์ภาวะสุขภาพ (Health Status) ภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ดีที่เป็นที่ต้องการหรือเป็นปกติ (Optimum or desired health, healthiness or healthy) กับภาวะสุขภาพที่ไม่เป็นที่ต้องการ ไม่สมบูรณ์  ไม่ปกติ  หรือ ทุกขภาพ (undesired, unhealthy or ill-health) ซึ่งการมองจากจุดของภาวะสุขภาพ (health) ดังที่กล่าวนี้ถือว่า เป็นการมองจากปริทัศน์ทางบวก  แต่ขณะเดียวกันมิติของสุขภาพก็สามารถจะมองจากปริทัศน์ด้านลบ  กล่าวคือเริ่มต้นจากภาวะทุกขภาพ  (ill-health) เช่น  การมองภาวะสุขภาพที่ไม่ดีว่าคือภาวะที่เป็นโรค หรือความพิการ  ภาวะที่มีความเจ็บป่วยและมีความไม่สบาย (disease and disability, ill and sick) และภาวะสุขภาพที่ดีก็คือลักษณะที่ตรงกันข้าม  คือปราศจากโรคหรือความพิการ  ความเจ็บป่วย และความไม่สบาย
4.  Self Care   รพ./รพ.สต./อสม./อปท. จัดHome Care ประเมินและปรับระบบบริการ คืนข้อมูล Patient Care Team (PCT)  พื้นที่ Empowerment  ผู้ป่วย และ ชุมชน  คืนข้อมูลผู้ป่วย/ชุมชน การเข้าถึงบริการสุขภาพไร้รอยต่อ ลดช่องว่าง ที่ควรเข้าถึงได้เร็วและดีขึ้นในอนาคต  การจัดปัจจัยเสี่ยงและสิ่งแวดล้อม  กลุ่มเสี่ยง การเข้าถึงการคัดกรอง สามารถตรวจตนเองบางกรณี การสงสัยป่วย การเข้าถึงการชันสูตร อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ  เป็นโรคระยะเริ่มต้น  การผสมผสานภูมิปัญญาและศาสตร์ทางเลือก การดูแลต่อเนื่อง ในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ระยะโรคลุกลาม  การรับบริการอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง  ระยะรุนแรง ระยะสุดท้ายของชีวิต  ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

ส่วนที่ 2  
แนวทางการบริหารจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอ
DHS (District Health System) เป็นระบบการทำงาน เพื่อร่วมกับขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพ อย่างบูรณาการ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน ตลอดจนระดมทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพตามบริบทของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม (กระทรวงสาธารณสุข,2555)
วิธีการดำเนินงาน DHS
โครงสร้างประกอบด้วยภาคีทุกภาคส่วน ที่วางลงตัวสามมุม ดังภาพที่ 1
                          ภาพที่ 1 ภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ










                                                 

                                          
                     




จากภาพที่ 1  DHS เป็นระบบการทำงานที่มุ่งตอบคำถามสุขภาพในพื้นที่ ตามบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมเรียกว่า Essential Care เป็นหัวใจในการทำงานร่วมกัน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการรับรู้และสร้างการดูแลตนเอง (Self Care)  การดูแลกันในทีมงานซึ่งมีชุมชนรวมอยู่ด้วย เพื่อช่วยกันสะท้อนให้เห็นภาพสุขภาวะของอำเภอ (Health Status) มีกระบวนการเรียนรู้โดยใช้บริบทชุมชนเป็นฐาน(Context Based Learning)  และก้าวไปด้วยกันในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นต้นทุนให้การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการ CBL และการทำงานประจำสู่งานวิจัย
ปัจจัยสำคัญของ DHS มี 3 ส่วน ดังนี้
1.      มีความเป็นเอกภาพ ของทีม DHS ( Unity Team) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2.      เป้าหมายร่วมกันเรื่อง Essential Care   ซึ่งมี 10 ประการประกอบด้วย
2.1   ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลได้ในชุมชน และที่บ้าน
2.2   ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  DM HT โรคหัวใจ หืด ถุงลมโป่งพอง วัณโรคปอด เอดส์ ไต ตับ มะเร็ง ฯ
2.3   มี SRRT เข้มแข็งควบคุมโรคในท้องถิ่นได้
2.4   งานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค  เช่น งานอนามัยแม่และเด็ก ตรวจคัดกรองอนามัย สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย
2.5   ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
2.6   สุขภาพฟัน
2.7   สุขภาพจิต จิตเวช
2.8   ผู้พิการและผู้ที่ต้องพึ่งพา : อัมพาต แผลเรื้อรัง เบาหวานถูกตัดเท้าฯ
2.9   เด็กเล็ก วัยรุ่น วันทำงาน ผู้ด้อยโอกาส คนยากจน
2.10         ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3.      การดูแลตนเอง (Self Care) : ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง รู้ว่าเมื่อไร ควรใช้บริการสาธารณสุข และสามารถได้รับบริการ






 













ที่มา : บทสรุปผู้บริหาร District Health System กระทรวงสาธารสุข

ปัจจัยของความสำเร็จ
1.      ต้องเป็น Unity District Health Team
2.      เป็นแหล่ง Resource sharing
3.      Essential Service : ระบบบริการปฐมภูมิเชื่อมโยงลงสู่ชุมชน นสค. แพทย์ประจำครอบครัว
4.      Appreciation and quality : พัฒนาหน่วยบริการให้น่าเชื่อถือทั้งภาพลักษณ์และศักยภาพ
บริการคุณภาพบริการรวมถึงการทำงานเชิงรุกในชุมชน เชิดชูผู้ปฏิบัติงาน ใช้ ระบบ IT สื่อสารส่งต่อข้อมูล     มี แนวทาง(Guideline) การให้บริการที่จำเป็นและพบบ่อย  ประเมินผลโดยประชาชนในชุมชน
5.      District Health Matrix  : ร่วมกันถอดบทเรียนในการพัฒนา ซึ่งพบว่าหลายครั้งที่สำเร็จไม่ได้
เกิดเฉพาะเรื่องทรัพยากร แต่เกิดจากการเป็นเจ้าภาพร่วมกัน

แนวทางการพัฒนา หนึ่งอำเภอหนึ่งประเด็นสุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาตามบริบทโดยการมีส่วนร่วม
ของท้องถิ่นและชุมชน One District One Project  (ODOP)
โดยทีมสุขภาพระดับอำเภอคัดเลือกปัญหาสุขภาพตามกลุ่มวัยหรือเชิงประเด็นอย่างน้อย 1 เรื่อง ร่วมกับทีม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และกำหนดตัวชี้วัดร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อติดตามความก้าวหน้าและความสำเร็จของโครงการ ทั้งนี้ต้องทำงานตามปัญหาของพื้นที่ในรูปแบบของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภออย่างเป็นรูปธรรม
1.      หน่วยคู่สัญญาบริการปฐมภูมิ(CUP) ทำงานร่วมกับ รพสต.โดยสนับสนุนงบประมาณ
บุคลากรและความรู้ และร่วมกันทำงานเป็นทีม   สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรผู้นำเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอและแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
2.      จัดประเมินและรับรองเครือข่ายสุขภาพสุขภาพอำเภอ โดยมีรูปแบบการประเมินที่
เหมาะสมตามบริบทและเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารการจัดการCUP ที่ดีและมีแนวคิด Spirituality มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป
3.      สนับสนุนทางด้านวิชาการแก่เครือสนับสนุนเครือข่ายสุขภาพหน่วยบริการและชุมชนให้มี
ความเข้มแข็ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายสุขภาพจากทุกภาคส่วนและสนับสนุนการดำเนินงาน Context base learning และนำสู่การเผยแพร่


แนวทางการประเมินผล ระบบบริหารจัดการสุขภาพระดับอำเภอ
1.      การทำแบบประเมินตนเอง (Self assessment)  ตามแบบบันได 5 ขั้นครอบคลุม 5 ประเด็น
คือ
1.1   การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ ( Unity District Health Team)
1.2   การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการและตัวผู้ให้บริการเอง (Appreciation)
1.3   การแบ่งปันทรัพยากร และการพัฒนาบุคลากร (Resource sharing and human development)
1.4   การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential care)
1.5   การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน ( Community participation)
2.      การดำเนินงานหนึ่งอำเภอหนึ่งประเด็นสุขภาพ : ODOP (One District One Project) โดยกระบวนการดังนี้
2.1   ทีม DHS ร่วมกันคัดเลือกปัญหาสุขภาพ
2.2   กำหนดตัวชี้วัดตามความเหมาะสม เพื่อติดตามความก้าวหน้า และผลสำเร็จของโครงการ
2.3   ทำในรูปแบบทั้งเครือข่ายอำเภออย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการร่วมมือกันระหว่างภาคีเครือข่าย ดังภาพที่ 3

                     ภาพที่ 3 กลไกความสำเร็จถูกขับเคลื่อน DHS








จากภาพที่ 3 แสดงออกถึงกลไกความสำเร็จถูกขับเคลื่อนผ่านองคาพยพต่าง ๆ เพื่อให้
เกิดระบบสุขภาพที่เป็นของประชาชนในพื้นที่ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และชื่นชมกันทั้งรูปแบบของ Context Based Learning(CBL) และการใช้การประเมินเครือข่ายปฐมภูมิ โดยผลที่ได้เป็นคำชื่นชมยินดี เพื่อให้เกิดพลังด้านบวกในการทำงาน โดยหัวใจของผู้ขับเคลื่อนจะสังเกตในกรอบซ้ายบน ซึ่งมีความสำคัญ ตั้งแต่การเตรียมเครือข่ายสุขภาพอำเภอกระบวนการต่างๆ มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นระบบตามแผนการพัฒนาและระบบจัดการของกระทรวงสาธารณสุข และส่งผลไปยังเป้าหมายของสุขภาวะ
2.4   เป้าหมายที่ตั้งต้องมีความท้าทาย หากเป็นโครงการที่ทำอยู่แล้วต้องพัฒนาให้ชัดเจนมาก
ขึ้น สิ่งที่ท้าทายการนำไปสู่ ODOP (One District One Project) โดยร่วมกันวางกรอบการทำงาน มีห้วงเวลากำกับ  แบ่งบทบาทหน้าที่ให้เกิดความชัดเจน ร่วมกันติดตามและเรียนรู้กระบวนการที่เปลี่ยนแปลง โดยแสดงขั้นตอน ดังภาพที่ 4



                   ภาพที่ 4 แนวทางทางการพัฒนา DHSA (District Health System Appreciation)
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข  20 ธันวาคม 2555








ระบบเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ เมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
Distric Health System Profile

ประวัติความเป็นมา
           ในอดีตอำเภอเมืองบึงกาฬ เป็นตำบลอยู่ในเขตปกครองของอำเภอชัยบุรี (เมืองไชยบุรี) ขึ้นกับจังหวัดนครพนม ต่อมาทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอชัยบุรี (ปากแม่น้ำสงคราม) มาตั้งบ้านบึงกาญจน์ (ริมฝั่งแม่น้ำโขง) ตรงข้ามเมืองปากซัน แขวงบํลิคำไซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสร้างอำเภอชัยบุรีขึ้นใหม่ โดยโอนการปกครองมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย เมื่อปี พ.ศ. 2459 โดยมี ร.อ.ท.พระบริบาลศุภกิจ (คำสาย  ศิริขันธ์) เป็นนายอำเภอคนแรก และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมาเป็นอำเภอบึงกาญจน์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอบึงกาฬ เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้มีการประกาศยกฐานะ อำเภอบึงกาฬเป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ดังกล่าว อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา มีนายชัยวัฒน์  สารสมบัติ เป็นนายอำเภอเมืองบึงกาฬ

คำอธิบาย: http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQsuh-nNg6RundJYbNLvl9_hxoftmVBAXUVGbCwIPe0poYza4jcคำขวัญอำเภอเมืองบึงกาฬ
คำอธิบาย: http://www.bungkan.com/blog/wp-content/gallery/songnang1/dsc03076_700.jpg

คำอธิบาย: http://pirun.ku.ac.th/~b5310700382/9.jpg
สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์
อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง
คำอธิบาย: http://www.nongkhai.go.th/bungkan/bb1.jpg
คำอธิบาย: http://www.bungkan.com/webboard/photo/83348908334890.jpg
คำอธิบาย: bungkan-90
สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า
น่าทัศนาแก่งอาฮง

คำอธิบาย: http://www.matichon.co.th/online/2011/03/13007849411300795977l.jpg

งามน้ำโขงที่บึงกาฬ

การแบ่งเขตการปกครอง
อำเภอเมืองบึงกาฬ แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่
ตำบล
จำนวน
บ้าน
กำนัน
นายก อปท.
ปลัด อปท.
1
บึงกาฬ
11
นายสุนทร วังสะพันธ์
นายสุระชัย  สกุลดาว
นายบุญลือ  มีสา
2
โนนสมบูรณ์
13
นายเตียงศักดิ์  เชิดพล
นายธนาดุล บุตรโคตร
นายอเนก  เดชมณี
3
โนนสว่าง
11
นายสมเพียร  เข็มศิริ
นายสมาน  สวัสดิ์นที
นางจุฑามาส  ศรีกมล
4
หอคำ
14
นายอนันต์ อินทร์แสง
นายวรกฎ ศรีแก่น
นายสุนทร  สุดแก้ว
5
หนองเลิง
13
นายสมาน ชัยจันทรา
นายมงคล  พินทา
นายวรโชติ  จินตฤทธิ์
6
โคกก่อง   
9
นายบุญอุ้ม ยศเคน
นายบัวพันธ์ วงศ์จันทร์
..ณัฐวรรณ ทีหอคำ
7
นาสวรรค์
9
สามารถ ดาวเสด็จ
นายธงชัย ป้องศรี
นายบวรพัฒน์ ทุมณี
8
ไคสี
10
นายชยพล โพธิสว่าง
นายทวี  จิตรวิขาม
นางสุนารี  เดชมณี
9
ชัยพร
13
นายไพ แพงดวง
นายพงศกร เขจรชัย
สมศักดิ์ พรหมพันธุ์ห่าว
10
วิศิษฐ์
13
นายสมยศ จันทร์สูง
นายอเนก  วงศ์หาบุตร
นายภคิน  พินิจมนตรี
11
คำนาดี     
8
นางจำรัส สุวรรณวงศ์
นายวิเชียร สุวรรณรงศ์
-
12
โป่งเปือย
7
นายไสว วันทอง
นายสนิท พลเยี่ยม
นายอนุชิต ไชยเนตร
อาณาเขต 
           อำเภอเมืองบึงกาฬ  ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง เหนือสุดจากภาคอีสาน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 751 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 1,123 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
·         ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองปากซัน แขวงบํลิคำไซ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
การปกครอง 
แบ่งการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 ดังนี้
การบริหารส่วนภูมิภาค  ประกอบด้วย
          ส่วนราชการประจำอำเภอ                       35      หน่วย
          ตำบล                                             12      ตำบล
          หมู่บ้าน                                            131     หมู่บ้าน
           การบริหารราชการท้องถิ่น ประกอบด้วย
          อบต.                                               7        แห่ง
          เทศบาล                                           6        แห่ง




แผนที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
 




ประชากร
           ชาย 44,872 คน หญิง 44,174  คน รวม 89,046 คน

แผนภูมิแสดงประชากรจำแนกชาย – หญิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

แหล่งข้อมูล:จากข้อมูล DBPOP ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2556

พื้นที่ทางการเกษตร
           จำนวน                                                                   42,685  ไร่
           ประชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ศาสนสถาน
           1. วัดพุทธ                                                                108     แห่ง    
           2. โบสถ์คริสต์                                                           4        แห่ง
(บ้านวิศิษฐ์ บ้านห้วยเซือมใต้ บ้านกลาง และบ้านใหม่ชัยพร)
การศึกษา
           1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                                    65      แห่ง
           2. โรงเรียนประถมศึกษา                                                52      โรง
           3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน(หนองตะไก้ ห้วยดอกไม้ นาแวง) 3         โรง
           4. โรงเรียนประถมศึกษา (เอกชน) โรงเรียนมหาไถ่ศึกษา)             1        โรง
           5. โรงเรียนมัธยมศึกษา                                                        โรง
  6. โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ (วัดโชติรสธรรมากร)        1        โรง
  7. โรงเรียนสายอาชีพ                                                   2        แห่ง
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี วิทยาเขตบึงกาฬ                     1        แห่ง


ข้อมูลด้านสาธารณสุข
           1. ทรัพยากรสาธารณสุข
               1) สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย
                   - โรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 90 เตียง                            1        แห่ง
                   - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                                   1        แห่ง
                   - ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง โรงพยาบาลบึงกาฬ              1        แห่ง
                   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                             14      แห่ง
               2) สถานบริการสาธารณสุขภาคเอกชน ประกอบด้วย
                   - คลินิกแพทย์                                                    6        แห่ง
                   - คลินิกทันตกรรม                                                1        แห่ง
                   - สถานพยาบาลและผดุงครรภ์                                  3        แห่ง
                   - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                       7        แห่ง
                   - ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ                            3        แห่ง
                   - ร้านขายยาแผนโบราณ                                        5        แห่ง
                   - ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์               1        แห่ง
                   - สถานที่ผลิตและจำหน่ายยาแผนโบราณ                      1        แห่ง
               3) องค์กรนิติบุคคล (สมาคม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ)
                   - สมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดบึงกาฬ        1        แห่ง
                   - สมาคมกุศลนทีธรรม                                           1        แห่ง
                   - สมาคมบึงกาฬการกุศล                                        1        แห่ง
                    - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.)                        131   แห่ง
                   - ชมรมสร้างสุขภาพ                                              131     ชมรม
                   - ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอย                      1        ชมรม
                   - ชมรมสมุนไพรภูมิปัญญาไทย ตำบลวิศิษฐ์                     1        ชมรม
                   - ชมรมตลาดสดน่าซื้อ                                            1        ชมรม
                   - ชมรมภูมิปัญญาไทย ตำบลโป่งเปือย                           1        ชมรม
                   - ชมรมร้านขายยา                                               1        ชมรม
                   - ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ                                     1        ชมรม
                   - ชมรมนวดแผนไทย                                                      1        ชมรม
                   - ชมรม อสม. อำเภอเมืองบึงกาฬ                               1        ชมรม








อัตรากำลังบุคลากรแต่ละประเภทต่อประชากร
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลบึงกาฬ   ปี 2556 จำแนกตามวิชาชีพ
วิชาชีพ
ข้าราชการ
ลูกจ้างประจำ/
พนักงานรัฐ
ลูกจ้าง
ชั่วคราว
รวม
สัดส่วน
ต่อปชก.
แพทย์
20
-
1
21
1 : 4,906
ทันตแพทย์
6
-
-
6
1 : 14,717
เภสัชกร
7
-
3
10
1 : 9,811
พยาบาลวิชาชีพ
80
-
60
140

พยาบาลเทคนิค
4
-
2
6

นวก.สาธารณสุข
1
-
4
5

เจ้าหน้าที่อื่น ๆ
14
1
262
276

รวม
132
1
332
464

ที่มา งานบริหารบุคคล สสอ.เมืองบึงกาฬ และ รพ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556

ตารางที่ 2 แสดงสัดส่วนบุคลากรต่อประชากรในสถานบริการสาธารณสุข อำเภอเมืองบึงกาฬ
              จังหวัดบึงกาฬ
ที่
สถานบริการ
ประชากร
พ.วิชาชีพ
นวก.
สธ.
จพ.
สธ.
จพ.ทันตฯ
รวม
จนท.1:ปชก.
1
ศชม.รพ.บึงกาฬ
8,823
4
4
1
-
9
981
2
รพ.สต.โนนสมบูรณ์
9,354
2
3
1
-
6
1559
3
รพ.สต.โนนสว่าง
5,382
1
2
1
-
4
1346
4
รพ.สต.หอคำ
4,087
1
2
1
-
4
1022
5
รพ.สต.หนองเลิง
8,281
2
3
1
1
7
1183
6
รพ.สต.โคกก่อง
6,547
2
1
3
-
6
1092
7
รพ.สต.นาสวรรค์
7,345
1
1
1
1
4
1837
8
รพ.สต.ไคสี
5,524
1
1
2
-
4
1381
9
รพ.สต.ชัยพร
4,881
1
1
2
1
5
977
10
รพ.สต.วิศิษฐ์
10,139
2
3
2
-
7
1449
11
รพ.สต.คำนาดี
6,407
1
2
1
-
4
1602
12
รพ.สต.โป่งเปือย
4,815
1
3
-
-
4
1204
13
รพ.สต.โคกสะอาด
2,982
1
2
-
-
3
994
14
รพ.สต.ดอนปอ
1,638
2
1

-
3
546
15
รพ.สต.ผาสวรรค์
2,841
1
1
1
-
3
947
       รวม
89,046
24
34
11
1
70
1,272
ที่มา งานบริหารบุคคล สสอ.เมืองบึงกาฬ และ รพ.บึงกาฬ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2556




สถานการณ์การเงินของเครือข่ายบริการปฐมภูมิ
ตารางที่ 3  แสดงสถานการณ์เงินบำรุงของสถานบริการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองบึงกาฬ
ที่
สถานบริการ
คงเหลือ
30 สค. 2556
1
รพ.สต.โนนสมบูรณ์
13,663.00
2
รพ.สต.โนสว่าง
437,849.20
3
รพ.สต.หอคำ
162,067.88
4
รพ.สต.หนองเลิง
351,078.87
5
รพ.สต.โคกก่อง
538,322.23
6
รพ.สต.นาสวรรค์
19,859.00
7
รพ.สต.ไคสี
389,032.37
8
รพ.สต.ชัยพร
272,181.40
9
รพ.สต.วิศิษฐ์
420,000.56
10
รพ.สต.คำนาดี
127,532.92
11
รพ.สต.โป่งเปือย
470,769.10
12
รพ.สต.โคกสะอาด
288,995.63
13
รพ.สต.ดอนปอ
99,802.41
14
รพ.สต.ผาสวรรค์
63,648.13

รวม
3,644,802.70
15
รพ.บึงกาฬ

ที่มา งานการเงิน สสอ.เมืองบึงกาฬ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2554



ตารางที่ 7 แสดงโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2553 – 2555) อำเภอเมืองบึงกาฬ
             โรคไข้เลือดออก

ปี
จำนวนผู้ป่วย
อัตราป่วย
จำนวนตาย
อัตราตาย
2553
172
202.12
1
1.18
2554
6
6.79
0
0
2555




ที่มา ศูนย์ระบาดวิทยา อำเภอเมืองบึงกาฬ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน 2553 – 2555





ข้อมูลการให้บริการสุขภาพ ประกอบด้วย
           1. การจัดบริการของหน่วยบริการ มีทั้งเชิงรุก และเชิงรับ ดังนี้
               1) ด้านการรักษาพยาบาล
               2) ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
               3) ด้านการป้องกันโรค
               4) ด้านการฟื้นฟูสภาพ
               5) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
           และจัดกลุ่มประชาชน ออกเป็น 8 กลุ่ม ตาม CANDOSTW โดยกระบวนการเยี่ยมบ้านและประชาคมด้านสุขภาพ เพื่อจัดกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพให้ตรงกับสภาพปัญหาสุขภาพของประชาชน  ผลงานดังนี้

กลุ่ม         C      A       N       D       O          S         T           W
ผลงาน     874   435   3,571    676        8,820         13,158    6,413     50,801

ลักษณะสำคัญขององค์กร
          
           วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของสถานบริการ โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
           พันธกิจ
           1. พัฒนาอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ให้มีความพร้อมต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
           2. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการให้บริการด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมดุจญาติมิตร
           3. พัฒนาการบริหารจัดการ ระเบียบ กฎหมาย ให้มีความคล่องตัวในการให้บริการ
           4. พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายบริการสุขภาพ และภาคีเครือข่ายในการจัดการระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน

เป้าประสงค์
           1. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬได้มีการสนับสนุนการพัฒนาอาคาร สถานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ให้มีบรรยากาศที่ดีต่อการให้บริการ และจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้มีความพร้อมต่อการให้บริการที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
           2. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬ มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดบริการสุขภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
           3. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬ มีระบบการบริหารจัดการตามระเบียบ กฎหมายที่คล่องตัวในการให้บริการสุขภาพอย่างเพียงพอเหมาะสม และรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ภายในเครือข่าย
           4. เครือข่ายบริการสุขภาพ (CUP) เมืองบึงกาฬ จัดให้มีการสนับสนุนในการดูแลสุขภาพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และทุกภาคส่วน


รูปแบบการเตรียมความพร้อมระบบบริหารจัดการสุขภาพระดับอำเภอเมืองบึงกาฬ
1.  ทีมงาน เครือข่ายฯ คัดเลือกเรื่องที่สนใจเพียงเรื่องเดียวในประเด็นEssential Care ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้องรัง หรือสถานการณ์สำคัญที่จะดำเนินการต่อเนื่อง ไม่ว่าจะทำได้หรือไม่ได้ คนเป็นปัญหาสำคัญ หรือต้องการจะนำมาทบทวน เพื่อปรับปรุง กระบวนการจัดการที่มีอยู่
2. ศึกษานโยบาย เป้าหมายกระบวนการดำเนินการที่มีอยู่ ความคาดหวัง ปัญหา อุปสรรค ความต้องการสาธารณสุขภาคประชาชน
3.  ค้นหาข้อมูล สถิติที่สำคัญ ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ที่ผ่านมา
4.  ความร่วมมือในเครือข่าย และกับภาคประชาชน ที่มีอยู่ขณะนี้ ลักษณะ รูปแบบ ระดับการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน ที่มีอยู่จริง
5.  ความคาดหวัง ต่อการมีส่วนร่วม ทั้งในเครือข่ายและกับภาคประชาชนและรูปแบบจะดำเนินการข้อตกลง การใช้คำแทนความหมายเพื่อให้เข้าใจตรงประเด็นสนใจ โรค/ประเด็น สถานการณ์ทางสาธารณสุข เป็นตัวเดินเรื่อง โดยให้เลือกมา CUP ละเรื่องเดียวการบริการ การดำเนินการที่มีเฉพาะต่อ ประเด็นสนใจนั้น ๆ ที่จะต้องปรับปรุง เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ โรค/ประเด็นที่เลือกมา
-          CUP การจัดการกระบวนการระบบการบริการสุขภาพที่มีในระดับอำเภอ เฉพาะที่
เกี่ยวข้องกับโรค/ประเด็นที่เลือกมา
-          PCU การจักการ กระบวนการระบบการบริการสุขภาพ ที่มีในระดับรพ.สต. ที่
ร่วมงานบางที่/ทั้งหมด เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สนใจ
-          ทีมสหสาขาวิชาชีพ ทีมโรงพยาบาล หรือทีมโรงพยาบาล กับโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลทีมสาธารณสุข
-          ทีมสหสาขาอาชีพ ทีมโรงพยาบาล  ทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทีม
ชุมชน ทีมสาธารณสุข ทีมประชาชน ทีมท้องถิ่น/ประชาชน จัดการทบทวนการบริการในระดับต่าง ๆ  ที่มีอยู่โดยใช้มุมมองการจัดการ เครือข่ายสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง สถานการณ์การบริการ ขณะนี้เป็นอย่างไร ข้อมูลแบ่งกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ครบถ้วนไหม (รักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู) เป้าหมายที่วางไว้แต่ละกลุ่ม เป็นเชิงปริมาณ (คงลักษณ์ของกระบวนการ) หรือเชิงคุณภาพ (ผลลัพธ์ทางพฤติกรรม และคลินิก) กระบวนการจัดการและความเชื่อมโยงของการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู ในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ของการบริการเป็นอย่างไร ประเด็นที่ได้ผล ได้จริงหรือไม่ ประเด็นที่เป็นปัญหาเกิดจากอะไร กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่มีอยู่จริงในการบริการนั้นในภาพรวม ทั้งในโรงพยาบาลและภายนอกโรงพยาบาลความเชื่อมโยงบทบาทของทีมต่างๆ ทั้งในและนอกโรงพยาบาล ที่เอื้อให้การบริการเรียบเนียนถึง ครอบครัว ชุมชนหรือไม่ ประชาชนรู้สึกอย่างนั้นหรือไม่ อะไรคือการดูแลองค์รวม ที่ทีมงานเข้าใจ ปฏิบัติ ในขั้นตอนต่าง ๆ รู้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ต่อการเข้าไม่ถึงการบริการและความไม่ต่อเนื่องของการดูแลองค์รวมได้ด้วยวิธีไหน ระบบของเราเองที่เป็นต้นเหตุ (ส่วนหนึ่ง) ที่ก่อปัญหาแก่กลุ่มเป้าหมาย มีหรือไม่ จะค้นพบได้อย่างไร ลักษณะของความร่วมมือเป็นการจัดการ สั่งการ หรือร่วมคิด ร่วมทำ เรารับรู้ความรู้สึก ความคิดของกันอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่ทีมโรงพยาบาลและทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะเป็นทีมของเราทีมเดียวกระบวนการและช่องทางความรับรู้ปัญหากลุ่มเป้าหมายตลอดกระบวนการอยู่ตรงไหนบ้าง เรามีการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วมกัน การบริการอย่างไร จะหลีกหนีการจัดตั้ง จากเราได้หรือไม่ เราเข้าใจและเชื่อมั่นใน การทำงานแบบร่วมคิดร่วมทำ เพิ่มพลังอำนาจแก่ประชาชน มากน้อยแค่ไหน ที่ทำมาแล้วมีอะไรบ้าง ถ้าเราจะออกแบบการบริการจากความต้องการของผู้มีส่วนร่วม และกลุ่มเป้าหมาย จะต้องเริ่มต้นดำเนินการอย่างไร การ่วมงานและความสัมพันธ์ของคณะกรรมการ CUP เอื้อกับการสร้างเครือข่าย เพื่อบริการไหม จุดอ่อน จุดแข็ง คืออะไร เป็นไปได้ไหมที่ การ่วมงานกันจะมีประเด็นการปรับบริการ ให้กลมกลืนกับวิถีชีวิตและองค์รวมของกลุ่มเป้าหมาย ลักษณะการร่วมงานและความสัมพันธ์ของบุคลากรโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลกับนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลักษณะการ่วมงาน และความสัมพันธ์ของบุคลากรสาธารณาสุขกับภาคีภาครัฐ เอกชนอื่นๆ และภาคีชุมชนต่างๆ รอบครัว ชุมชน การเข้าถึงบริการระบบสุขภาพ ทักษะเพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมีความหมายและมีคุณค่า เช่น การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพตนเอง มีชุดให้ความรู้ด้านสุขภาพ มีเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ ตามความสามารถเพื่อการจัดการตนเองและดูแลตนเอง เช่นการจัดการด้วยโรคเรื้อรัง อย่างมีส่วนร่วม จิตอาสา กลุ่ม/เครือข่ายต่างๆ กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน การจัดการให้มีการบริโภคยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอฯ ความรู้เท่าทันสุขภาพ (Health literacy) เช่น การรณรงค์ การให้สุขศึกษา การสื่อสารด้วยกระบวนที่เข้าถึงได้ การวางแผนการบริการสุขภาพ และความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน กับภาคชุมชน ในโครงสร้างทางสังคม ตามบริบท วัฒนธรรม เช่นกลไกกระบวนการ การมีส่วนร่วมและความร่วมมือการสนับสนุนทุนและทรัพยากร รวมถึงการฝึกอบรมแก่องค์การผู้บริโภคฯ เช่นการสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่น การฝึกอบรมอาสาสมัคร การสนับสนุนทุนและทรัพยากร เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ประชาคม คณะกรรมการโรงพยาบาล คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริการสุขภาพ โครงการเกี่ยวกับสุขภาพชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การช่วยเหลือและสนับสนุน (Advocate& Support) พัฒนา/เพิ่มศักยภาพ อำนาจผู้นำ ภาคชุมชน/แกนนำต่างๆ เช่นการระบุบุคคลโดยชุมชน การพัฒนาผู้นำ กลไกกระบวนการ การมีส่วนร่วมด้านสาธารณสุข จัดการบริการด้านสุขภาพด้วยความรับผิดชอบตอบสนองต่อความต้องการ สนองความพึงพอใจและความคาดหวังของประชาชน เสริมความเข้มแข็งและคุณค่าการเห็นประชาชนเป็นศูนย์การการให้การยอมรับและการสนับสนุนการเป็นแบบอย่างที่ดีความตระหนักรับผิดชอบต่อด้านต่าง ๆ ดังนี้
การบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ตามจรรยาบรรณ
 เป็นบุคคลแบบอย่าง เพื่อคงไว้ซึ่งความมีคุณค่า
 นำพาการร่วมงาน การเรียน การสอนในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ
 รักการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาและเติบโตทางปัญญา
 พัฒนาด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ความสามารถในการดูแลองค์รวมด้วย การบริการเพื่อนมนุษย์/มิตรภาพบำบัด
 เชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์จากการใช้เหตุผลเชิงประจักษ์
 ประสานสมดุลการบริการเวชศาสตร์ครอบครัวชุมชนและแบบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
องค์ความรู้การให้สุขศึกษา และกระบวนการฝึกอบรมในทุกเรื่องที่จำเป็นสำหรับบุคลากรสาธารณสุข
 ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ที่จำเป็นต้องมี
 เข้าใจภูมิปัญญาการศาสตร์พื้นบ้าน/ทางเลือกสถานบริการชุมชน
 ได้รับการเรียนรู้ ฝึกฝน ในด้านการรับรู้ และตอบสนอง
 ความสามารถผสมผสานกับบริบทวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม

ความรู้ความสามารถหลักของบุคลากรที่เน้นการบริการที่มีประชาชน/ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
 เข้าใจถึงมิติด้านจิตสังคม
 การเน้นย้ำ ความสำคัญของปัจจัยด้านชีวิตร่างกาย จิตสังคม และจิตปัญญา
 ห่วงใยและเอาใจใส่สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน
 การผสมผสานบนพื้นฐาน ความตระหนัก ด้านมนุษยธรรม
 ความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารต่อผู้คน และการสร้างความเชื่อถือไว้วางใจได้
 มีวิธีการเรียนรู้ และการสอนที่หลากหลาย
องค์กรด้านสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยบนพื้นฐาน จรรยาบรรณวิชาชีพ
 ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความร่วมมือการบริการสุขภาพ
 การไหลเวียนของผู้ป่วย
 การเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยเฉพาะที่จำเป็น
 การแจ้งสิทธิ และการยืนยันการรับรู้
 บันทึกทางสุขภาพและการบริการ
 ระบบการจำหน่าย และส่งต่อผู้ป่วย
มาตรฐานและการสร้างแรงจูงใจ
 มาตรฐานด้านบุคลากร
 ระบบค่าตอบแทน ที่สนับสนุนความมั่นคงเพื่อการดำรงชีพ
 ระบบเสริมแรงจูงใจ ตรมลำดับประสิทธิภาพการทำงาน
 การยกย่อง ยอมรับบุคลากร ที่เป็นแบบอย่างต่อสาธารณะ
 การพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะอย่างต่อเนื่อง
 การฝึกอบรมความรู้ ทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อภาระงาน
 การติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ การจัดสิ่งแวดล้อม ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เอื้อต่อการปฏิบัติงานบรรยากาศทางสังคม อารมณ์ การสนับสนุนด้านสติปัญญา นโยบายด้านการจัดการ ความเสี่ยง การจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ทางสุขภาพ รูปแบบการบริการอื่นๆ อาทิเช่น การบริการนอกเวลา การฝึกหัตพยาบาล การส่งเสริมด้านจิตสังคม การบริการในชุมชน  ทีมสุขภาพ สหสาขาวิชาชีพกำหนดรายละเอียดภาระงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ ในฐานะทีมสุขภาพการสนับสนุนการพัฒนาทีมสุขภาพ และการเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการข้อกำหนดการสื่อสาร ประสานงานระหว่างวิชาชีพ การบูรนาการการให้สุขศึกษาและให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เข้ากับการมีส่วนร่วมของครอบครัวและความสามารถ ในการจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว สร้างภาวะผู้นำและทักษะการจัดการ ทักษะตามความสามารถในการจัดการ ทรัพยากรและการพัฒนาทางองค์กร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ การจัดการ การฝึกอบรมภาวะผู้นำแก่ทีมงาน มีทิศทางการพัฒนาดูแลกลุ่มต่าง เช่น ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) ส่วนใหญ่ มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายและเศรษฐกิจ  การฟื้นฟูที่บ้านนับเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ดูแลตามแนวคิดองค์รวม รักษาคนก่อนรักษาโรค  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ มีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไม่ดูแลเฉพาะผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการฯ) แต่ต้องดูแลครอบครัวและญาติด้วย กำจัดข้อด้อยของการบริการ ผู้ป่วย (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ) แต่เดิมไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ความช่วยเหลือไม่ตรงความต้องการ ทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว ต้องรู้จำนวน แต่ไม่เข้าใจ การฟื้นฟู ขึ้นทะเบียนได้ แต่ไม่ได้ฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสม เมื่อรู้ปัญหา  แต่ไม่เห็นศักยภาพ สงเคราะห์ได้แต่ขาดคุณค่า เน้นตั้งรับมากกว่าตามรุก ขาดโอกาสเข้าถึง ขาดการติดตาม ซึ่งจะเป็นไปตามบุญตามกรรมไม่ได้อีกต่อไป

ODOP (One District One Project)
ประเด็นการพัฒนา “อาหารปลอดภัย”

ตามบริบทของพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬเพื่อป้องกันและควบคุมโรคปัจจัยการเกิดโรคที่
ครอบคลุมประชาการอย่างกว้างขวาวและเป็นเรื่องอยู่ในความสนใจของประชาชนจากเหตุการณ์วิกฤตการระบาดของโรคที่เกิดจากระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ เน้นให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำถึงปลายน้ำตลอดทั้งห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เป็นการส่งเสริมการสร้างสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้บริโภคและช่วยแก้ปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชนให้ลดลง เป็นการนำพาสังคมไทยไปสู่สังคมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย CUP บึงกาฬจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2556 ขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาร้านอาหาร/แผงลอยในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
2. เพื่อพัฒนาตลาดสดในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ
3. เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารสดในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ ให้ปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย 6 ชนิด คือ สารบอร์แรก, สารฟอร์มาลีน, สารกันรา, สารฟอกขาว, สารเร่งเนื้อแดง, ยาฆ่าแมลง         และเฝ้าระวังเพิ่มเติมคือ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค
4. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชนในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ
กลุ่มเป้าหมาย
          1. ร้านอาหาร/แผงลอยในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ                        จำนวน 80 ร้าน
2. ตลาดสดในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ                                     จำนวน 2 แห่ง
3. โรงเรียนประถม, โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาส     จำนวน 15 แห่ง
กลวิธีดำเนินการ
1. เขียนและขออนุมัติโครงการอาหารปลอดภัย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2556
          2. แต่งตั้งคณะกรรมการอาหารปลอดภัยอำเภอเมืองบึงกาฬ
          3. ประชุมคณะกรรมการอาหารปลอดภัยอำเภอเมืองบึงกาฬเพื่อสรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2555 และวางแผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2556
          4. พัฒนาร้านอาหาร/แผงลอยในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬให้ได้มาตรฐาน Clean Food Good Taste
5. พัฒนาตลาดสดในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ
6. ตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารสดในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ ให้ปราศจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย 6 ชนิด คือ สารบอร์แรก, สารฟอร์มาลีน, สารกันรา, สารฟอกขาว, สารเร่งเนื้อแดง, ยาฆ่าแมลง และเฝ้าระวังเพิ่มเติมคือ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค
7. พัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้บริโภคในโรงเรียนและชุมชนในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ
5. สรุปและประเมินผลลัพธ์โครงการอาหารปลอดภัย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
ปีงบประมาณ 2556

กิจกรรมดำเนินการ
1. กิจกรรมพัฒนายกระดับมาตรฐานร้านอาหาร/แผงลอย
1.๑ อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร
กิจกรรมที่ดำเนินการ  จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่เป้าหมาย
เป้าหมาย  ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอย  จำนวน 80 คน
ระยะเวลาดำเนินการ  พฤษภาคม ๒๕๕6 - กันยายน ๒๕๕6
1.๒ พัฒนาร้านอาหาร/แผงลอย
กิจกรรมที่ดำเนินการ  ตรวจประเมิน/ให้คำแนะนำผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย,ให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม, สารปนเปื้อนในอาหารและประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
-          ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคใน รพ.สต. ตรวจให้คำแนะนำและพัฒนาร้านอาหาร/แผงลอยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
-          คณะกรรมการอาหารปลอดภัยสุ่มตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยที่ผ่านมาตรฐาน
มอบป้าย CFGT ร้านที่ผ่านมาตรฐาน
เป้าหมาย  ร้านอาหาร/แผงลอย จำนวน 80  แห่ง
ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม ๒๕๕6 - กันยายน ๒๕๕6

2. กิจกรรมพัฒนาตลาดสด
2.๑ การเฝ้าระวังความปลอดภัยสารปนเปื้อนในอาหารสด
กิจกรรมที่ดำเนินการ ตรวจวิเคราะห์อาหารโดยรถตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร (Mobile Unit) หาสารปนเปื้อน 6 ชนิด สารบอร์แรก, สารฟอร์มาลีน, สารกันรา, สารฟอกขาว, สารเร่งเนื้อแดง, ยาฆ่าแมลงและเฝ้าระวังเพิ่มเติมคือ สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และทดสอบปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภคปีละ ๒ ครั้ง
                 เป้าหมาย ตัวอย่างอาหารสดจากตลาดสดและแผงจำหน่ายอาหารสดในหมู่บ้าน
จำนวน 500 ตัวอย่าง



                 2.๒  การตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในตลาดสด
กิจกรรมที่ดำเนินการ  ตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ด้านสุขลักษณะทั่วไปและความสะอาดของตลาดสด การจัดการขยะมูลฝอย น้ำดื่ม น้ำเสีย สิ่งปฏิกูล การควบคุมสัตว์แมลงนำโรค การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขลักษณะของผู้จำหน่ายอาหารในตลาดสด
เป้าหมาย  ตลาดสดเทศบาลตำบลบึงกาฬและตลาดสดโนนสมบูรณ์
ระยะเวลาดำเนินการ  พฤษภาคม ๒๕๕6, กรกฎาคม ๒๕๕6
2.๓ การคุ้มครองผู้บริโภคในตลาดสด
กิจกรรมที่ดำเนินการ       
-                   ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัยผ่านสื่อโดยใช้บอร์ดประชาสัมพันธ์
-                   จัดให้มีตาชั่งกลางในตลาดสด
เป้าหมาย  ตลาดสดเทศบาลตำบลบึงกาฬและตลาดสดโนนสมบูรณ์
ระยะเวลาดำเนินการ  พฤษภาคม ๒๕๕6 - กันยายน ๒๕๕6

3. กิจกรรมจัดตั้งเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
3.1 กิจกรรมจัดตั้งชมรม อย.น้อย
กิจกรรมดำเนินการ  จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอาง ยา อาหารและสิทธิผู้บริโภคให้แก่ครู/แกนนำนักเรียน อย.น้อย
เป้าหมาย 
§ ครูอนามัย/แกนนำ อย.น้อย        จำนวน 90 คน
§ ชมรม อย.น้อย                      จำนวน 15 ชมรม
                 ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2556กันยายน 2556
3.2 การตรวจประเมิน/ให้คำแนะนำโรงอาหารโรงเรียน
กิจกรรมที่ดำเนินการ ให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สิ่งปนเปื้อนในอาหารและประเมินตามเกณฑ์โรงอาหารโรงเรียนของกรมอนามัย
เป้าหมาย  โรงเรียนประถม, โรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 15 แห่ง
ระยะเวลาดำเนินการ  พฤษภาคม ๒๕๕6 – กันยายน ๒๕๕6
งบประมาณ  งบส่งเสริมป้องกัน CUP บึงกาฬ ปีงบประมาณ ๒๕56
3.3 การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหารปลอดภัยในกลุ่มประชาชนและนักเรียน อย.น้อยในเขตพื้นที่เป้าหมาย





สรุปผลการดำเนินงานโครงการอาหารปลอดภัยตามระบบบริหารจัดการสุขภาพระดับอำเภอเมืองบึงกาฬ
          
           การดำเนินงานตามแผนงานโครงการของเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ มีการดำเนินงานตามโครงการ ดังนี้
    
      ผลการดำเนินงาน DHS เมืองบึงกาฬ ประเด็น อาหารปลอดภัยใน ปี 2556
1.   ขั้นพื้นฐานที่สำคัญ  (Essential Care) มี ร้านอาหารแผงลอย ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล /CFGT เป็นพื้นฐานการ ป้องกันโรคที่มากับอาหารและน้ำ
ตารางผลการตรวจอาหารสด

2.  เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอการทำงานเป็นทีม  (Unity District Health Team) ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ  โรงพยาบาลบึงกาฬ  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  เชื่อมโยงเครือข่ายทุกภาคีในการมีส่วนร่วมแก่ไขปัญหาและร่วมลงมือปฏิบัติตามความเหมาะสม มีคณะกรรมการชมรมร้านอาหาร/แผงลอยอำเภอเมืองบึงกาฬ ในการร่วมจัดกิจรรมตามโครงการ มีการจัดประชุมเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการใช้ข้อมูลด้านสุขภาพผลการตรวจอาหารและเชื่อมโยงไปยังผู้บริโภค  ของร้านค้าแผงลอย  จำนวนร้านอาหารแผงลอย ทั้งหมด  330 ร้าน อยู่ในเขตเมือง จำนวน 80 ร้าน  เป็นสมาชิกชมรม 53 ร้าน คิดเป็นร้อยละ  66.25




3.      สถานะสุขภาพ (Health Status)  อุบัติการณ์ของโรคที่เกิดจากปัจจัยการบริโภคอาหาร

ตารางเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของโรคระบบทางเดินอาหาร เดือน มกราคม - มิถุนายน 2553-2556
ในห้วงระยะเวลาเดียวกันของแต่ละปี (ต่อประชาการแสนคน)
โรค
จำนวน(ราย)
ปี 2553
 ปี 2554
ปี 2555
ปี 2556
จำนวนป่วย (ราย)
   1,662.83
   1,919.79
   1,810.42
    620.42
จำนวนตาย (ราย)
             -  
             -  
             -  
           -  
ที่มา : HosXp 30 สิงหาคม 2556

กราฟแสดงแนวโน้มอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารเดือน มกราคม - มิถุนายน 2553-2556
ในห้วงระยะเวลาเดียวกันของแต่ละปี

 พบว่า การดำเนินงานตามโครงการอาหารปลอดภัยในห้วงระยะเวลาดังกล่าว มีอัตราการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารลดลง จาก 1,653 ต่อประชากรแสนคน เป็น 573 ต่อประชาการแสนคน

ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน

1.      สมาชิกเครือข่ายยังไม่เข้าใจลึกซึ้งในประเด็นเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ
2.      เงื่อนเวลา ในการดำเนินงานของกองทุนไม่สอดคล้องกับแผนของท้องถิ่น ทำให้ไม่มีการกำหนด
ข้อบัญญัติงบประมาณในรอบปีได้ ทำให้การเชื่อมโยงแนวทางการทำงานเพื่อให้เข้าถึงรูปแบบการดำเนินงานไม่ทั่วถึง

ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข
1.      จัดอบรมพัฒนาองค์ความรู้ให้ทุกคนได้เข้าถึง ประชาชน เจ้าหน้าที่ และฟื้นฟูทีมงานเพื่อให้มีแนว
ทางการปฏิบัติในระบบ
2.      สนับสนับการประสานงานระหว่างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เทศบาล ให้เห็นความสำคัญของ
ระบบบริหารจัดการสุขภาพระดับอำเภอในการเข้าร่วมภารกิจให้มากขึ้น
3.      เผยแพร่รูปแบบการดำเนินงาน DHS ให้กว้างขวางให้ทุกคนเข้าถึงบริการรวมทั้งการมีส่วนร่วมให้
มากยิ่งขึ้น
4.      การได้มาซึ่งปัญหาและแนวทางควรไม่ควรมากจากกลุ่มใดหลุ่มหนึ่ง ควรมากจากส่วนย่อยของ
ชุมชนและรวมกันให้เห็นปัญหาที่แก้ไขร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม





































ภาคผนวก





ประชุม DHS เมืองบึงกาฬ

บอร์ดคณะกรรมการชมรมร้านอาหาร
รองนายกเทศมนตรีเทศบาลบึงกาฬ ประชุม ชมรมร้านอาหาร


ร้านแผงลอบในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ









ส่งเสริมภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมการดำเนินงานดำเนินงาน "อาหารปลอดภัย"







คำสั่ง DHS เมืองบึงกาฬ


กิจกรรมตรวจอาหารสดในตลาด และ ชุมชน เดือน พฤษภาคม 2556